วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ว่าด้วยเรื่องระบบขนส่งสาธารณะ
มาเลเซีย เป็นประเทศที่ส่วนตัวผมมองว่า ระบบการคมนาคมสาธารณะของเค้า ถูกออกแบบมาได้อย่างเป็นมิตร กับผู้ใช้งานมาก ๆ ครับ เพราะส่วนใหญ่เราจะเห็นว่า หลาย ๆ สถานี หลาย ๆ เมือง เราสามารถเชื่อมต่อการเดินทางระหว่าง รถไฟ และ รถบัส รวมถึง โลคัลบัสได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องหอบหิ้วพะรุงพะรัง ต่อรถอะไรหลาย ๆ รอบแบบบ้านเรา
ย้อนกลับมาดูบ้านเรา ที่ตอนนี้กำลังเร่งพัฒนาศักยภาพด้านระบบขนส่งกันอย่างเต็มที่ เราก็ได้แต่แอบคาดหวังว่า วันใดที่ทั้งหมดนี้ เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เราจะได้ใช้ระบบที่สมบูรณ์แบบ และให้เกียรติผู้ใช้บริการ แบบที่มาเลเซีย และ หลาย ๆ ประเทศ ทำให้เราเห็นกันแล้ว ของที่มาทีหลัง ควรจะดี และมีข้อบกพร่องน้อยกว่า จริงไหมครับ?
iSSAMEe
27 ต.ค. 2561
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561
I'm going to Malaysia lah. EP4/2 Musjid Putra
หลังจากออกจากถ้ำบาตู เราก็เดินทางต่อมายังมัสยิดปุตรา หรือ Putra Mosque การเดินทางหากเริ่มจาก KL Sentral เราจะต้องขึ้นรถ KLAI Transit มาลงที่สถานีปุตราจายาก่อน แล้วค่อยต่อรถเมล์สายอะไรสักสาย นี่แหละ แต่จากการที่สือสารกันไม่ค่อยเข้าใจ ก็เลยเรียกแก็บแม่งเลยจ้า 9 ริงกิต สบายใจ
มัสยิดปุตรา จะมีการเปิดให้เข้าเยี่ยมชม โดยผู้หญิงทุกคน จะต้องใส่ชุดคลุม รวมทั้งผู้ชายที่ใส่ขาสั้นเช่นกัน ด้านในก็จะมีพื้นที่สำหรับนักท่องเที่ยว และ พื้นที่ของชาวมุสลิมสำหรับประกอบพิธีทางศาสนา
นอกจากตัวมัสยิดแล้ว รอบ ๆ ก็ยังมีจุดอื่น ๆ ให้ถ่ายภาพเช่นกัน มีร้านอาหารให้เราเลือกทานได้ตามใจชอบ
และเมื่อเที่ยวชม ถ่ายรูปจนจุใจแล้ว เราก็เรียกรถกลับไปที่ Putra Sentral เพื่อต่อ KLAI Transit เดินทางไปยังสนามบิน KLAI2 ก่อนจะปิดทริปมาเลเซีย อย่างมีความสุข
iSSAMEe
19 ต.ค. 2561
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561
I'm going to Malaysia lah. EP4/1 Batu Cave.
เช้าวันที่ 15 ตุลาคม เป็นวันที่ 3 ในแผ่นดินมาเลเซีย เช้านี้ผมยังคงใช้การโดยสารรถไฟ KTM Komuter เช่นเคย และวันนี้ เราจะนั่งไปลงที่สถานี Batu Cave เพื่อไปยังถ้ำบาตู ซึ่งถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญของชาวฮินดู และเป็นสถานที่สำคัญของรัฐสลังงอร์อีกด้วย
ในแต่ละปี จะมีนักท่องเที่ยวมากมายมาเยี่ยมชมสถานทีแห่งนี้ และปีนี้หนึ่งในนั้นก็มีผมด้วย ซึ่งพอก้าวแรกที่เข้ามาถึง รู้สึกร้อนจังวะ 5555 คือวันนั้นแดดแรงมากด้วย แต่ลึก ๆ ก็คิดว่าดีเพราะจะได้ถ่ายรูปสวย ๆ ตลอดทั้งวัน
ที่นี่จะมีนักท่องเที่ยวหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งจีน ไทย อินเดีย และคนตะวันตก ทุกคนที่มาเยือนที่นี่ควรจะมีโอกาสขึ้นไปด้านในของตัวถ้ำเพื่อชมทัศนียภาพของตัวเมือง แต่จะต้องฝ่าด่านอรหันต์บันได้เกือบ 300 ขั้นให้ได้ ซึ่งก็เล่นเอาผมลิ้นห้อย ขาอ่อนอยู่เหมือนกัน
สำหรับตัวผมเองนั้น ไม่ใช่สายบุญ หรือ สายบูชาองค์เทพแต่อย่างใด แต่ด้วยอาการก่อสร้าง รูปปั้นสักการะต่าง ๆ ที่ดูสวยงาม ก็ทำให้ผมสนุกสนานกับการถ่ายรูปและตื่นตาตื่นใจได้ไม่น้อยเช่นกัน หากมีโอกาสเราคงได้พบกันใหม่
iSSAMEe
18 ต.ค. 2561
วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561
I'm going to Malaysia lah. EP3 Melaka is Malaysia.
รถไฟ KTM Komuter หนึ่งในยานพาหนะหลักของชาวกัวลาลัมเปอร์ |
เมื่อลงจากรถไฟแล้ว ข้ามฝั่งไป TBS ได้เลยจ้า |
ลงรถสาย 17 ทึ่ Dutch Square แล้วก็ลุยได้เลย |
รถสามล้อ อีกหนึ่งกิจกรรมของนักท่องเที่ยวในมะละกา |
คลองในเมืองมะละกา |
มะละกา เมืองมรดกโลก |
ประเทศมาเลเซีย นอกจากกรุงกัวลาลัมเปอร์แล้ว เมืองมะละกาเมืองมรดกโลก ก็เป็นอีกจุดหมาย ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และหลาย ๆ ชนชาติทั่วโลกต่างหมายมั่นว่าจะต้องมาเยี่ยมเยือนให้ได้สักครั้ง แน่นอนว่าตัวผมเองก็เช่นกัน
มะละกาเป็นรัฐที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศมาเลเซีย การเดินทางจากกัวลาลัมเปอร์ไปมะละกา ง่ายมากๆ หากตั้งต้นที่ KL Sentral ให้ขึ้นรถ KTM Komuter ไปลงที่สถานี Banda Tasik Selatun หรือ TBS จากนั้นข้ามไปยังสถานีรถบัส ซื้อตั๋วช่องไหนก็ได้ บอกเค้าว่าไปมะละกา หลังจากนั้นก็นั่งรถราว ๆ 2-2.30 ชม. ก็ถึง Melaka Sentral จากนั้นให้ต่อ Local Bus สาย 17 ลง Dutch Square เป็นอันเสร็จสิ้นการเดินทาง เริ่มเดินเท้าเที่ยวกันได้
ในอดีต มะละกาเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตกบนช่องแคบมะละกามากว่า 500 ปี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมโปรตุเกส ดัตช์ และมลายู ได้รับการยกย่องให้เป็นนครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกาจากองค์การยูเนสโก
สำหรับอาหารขึ้นชื่อที่ไม่ควรพลาด สำหรับเมืองมะละกาก็คือ ข้าวมันไก่ไหหนาน ซึ่งจุดเด่นของข้าวมันไก่ของที่นี่คือ ตัวข้าวจะปั้นเป็นก้อนเท่าลูกปิงปองและจะแฉะกว่าข้าวมันไก่ที่บ้านเราพอสมควร ส่วนเนื้อไก่จะราดมาด้วยน้ำซอสหอม ๆ หนังหนึบหนับ เนื้อนุ่ม เอาเป็นว่า ฟินมาก ๆ
เมืองมะละกา ถือว่าคุ้มค่าสำหรับการเดินทางมาเยือน มีจุดให้ถ่ายรูป และทำกิจกรรมมากมาย ทั้งนั่งรถสามล้อ นั่งเรือชมคลองชิล ๆ เป็นต้น การสื่อสารกับผู้คนก็ง่าย ๆ เลย ใช้ภาษาอังกฤษตลอดเส้นทาง
iSSAMEe
17 ต.ค. 2561
I'm going to Malaysia lah. EP2 Must visit at twin towers.
ตึกแฝด ปริโตนาส กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย |
เมื่อมาถึงกัวลาลัมเปอร์ ผมรีบสุดชีวิต เพื่อเข้าเช็คอิน ยังโรงแรมที่จองไว้ (โรงแรม My Hotel @ Sentral2) เมื่อเช้คอินเสร็จ เก็บของ ล้างหน้าล้างตา ย้อนหลับมาที่ KL Sentral อีกครั้ง เพื่อขึ้น LRT ตามที่ดุรีวิวมา โดยไปลงสถานี KLCC ตั้งใจว่าจะไปถ่ายรูปกับตึกแฝด สัญลักษณ์ของประเทศนี้ซักหน่อย คือที่ต้องรีบมาเพราะกลัวว่าถ้ามาช้า เขาจะปิดไฟ ถ่ายรูปไม่ได้นั่นแหละ
เมื่อมาถึง เราก็ เออนี่เหรอ แลนดืมาร์ก คือ มันไม่ได้ว๊าว แบบตอนเห็น Taipei101 ที่ไต้หวัน แต่ก็นึกในใจ เอาวะ มาแล้ว ต้องได้รูปคู่กับตึก ก็ได้มานิดหน่อย ตามที่เห็น ซึ่งแน่นอนตอนนี้ตรงกับช่วงหยุด 3 วันที่ไทย ดังนั้น เราจะได้ยินเสียงภาษาไทยลอยเข้าหูอยู่บ่อย ๆ แอบอุ่นใจเหมือนกัน ไปไหนก็เจอคนไทย ฮ่า ๆ
เกร็ดเล็กน้อย
ภาษาอังกฤษที่มาเลเซียฟังยากก็จริง แต่ก็ไม่ได้หนักหนาวอะไรขนาดที่กลัว แต่รอบสองให้ละกันว่า...มันจะยากขึ้นถ้าทักษะภาษาอังกฤษคุณไม่แข็งพอ เช่นผม 55555 คือกูโง่อังกฤษอยู่แล้ว ยิ่งไปเจอสำเนียงมาเลย์ ทุกอย่างแม่งยากขึ้นมาทันที 55555 แต่ข้อดีคือ 90% ที่ถามเป็นอังกฤษไป คนที่นี่ตอบได้ คุยได้หมดทั้งเด็ก คนทำงาน คนแก่คนเฒ่า โคตรดี
เดี๋ยวตอนท้าย ผมจะมาบอกว่า ผมได้ประโยคๆ นึง จากคนมาเลย์ ถามผมว่า เปย์แกช ออกัส จะให้ทายว่าเค้าพูดว่าอะไร เด่วเฉลยบล๊อกท้าย ๆ
iSSAMEe
17 ต.ค. 2561
I'm going to Malaysia lah. EP1 Salamat Datang ke Malaysia.
รถด่วนพิเศษขบวนที่ 45 กรุงเทพ ปาดังเบซาร์ |
บรรยากาศตู้อื่น ๆ บนรถขบวนที่ 45 ที่เราโดยสาร |
ตู้เสบียง |
รถไฟฟ้า ETS ของประเทศมาเลเซีย |
วิวระหว่างทาง จากปาดังเบซาร์ ไป กัวลาลัมเปอร์ |
บรรยากาศ ใน KL Sentral |
สำหรับผมแล้ว การนั่งรถไฟคือเรื่องที่มีความสุข และมีความสนุกอย่างมาก ๆ ครับ แต่การนั่งรถไฟไปต่างจังหวัดก็ดูจะเป็นเรื่องปกติของผมไปแล้ว ดังนั้น จึงคิดว่าอยากนั่งรถไฟไปเที่ยวต่างประเทศสักครั้ง แต่ขอแบบง่าย ๆ เซฟ ๆ และปลอดภัย ซึ่งแน่นอนว่าถ้าโจทย์มาชัดเจนขนาดนี้ เห็นทีคงไม่พ้นประเทศเพื่อนบ้าน อย่างมาเลเซียแน่นอน
สำหรับการนั่งรถไฟไปยังประเทศมาเลเซียก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรครับ แค่ จองตั๋วรถไฟทั้ง 2 ฝั่งให้เรียบร้อย (หมายถึงฝั่งขาจาก กรุงเทพ - ชายแดนไทย และ จากชายแดนไทย - กัวลาลัมเปอร์ )
โดยจะมีรายละเอียดดังนี้
รถจากฝั่งไทย แนะนำให้โดยสารรถขบวนด่วนพิเศษ ที่ 45 จากกรุงเทพ ปลายทางยังสถานีปาดังเบาซาร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะเป็นรถนอนปรับอากาศ ราคา 900 กว่าบาท อันนี้ จะออกจากกรุงเทพ 15.00 โดยประมาณ ถึงปาดังเบซาร์ ราว ๆ 9.50 (เวลาของประเทศมาเลเซีย) ฝนส่วนนี้สามารถโทรจองตั๋วล่วงหน้า หรือไปจองที่สถานีรถไฟใกล้บ้านได้ 90 วันก่อนวันเดินทาง
ส่วนรถฝั่งมาเลเซีย เราจะต้องใช้บริการรถไฟที่หน้าตาเหมือนหัวจรวด หรือรถ ETS ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าความเร็วปานกลาง (ประมาณ 140-150กิโลเมตร / ชม.) เราจะนั่งรถขบวนนี้ที่มีค่าโดยสารราวๆ 800 บาท จากสถานีปาดังเบซาร์ มึ่งหน้าสู่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ซึ่งเราจะลงกันที่สถานี KL Sentral ซึ่งเป็นสถานีหลักของระบบราง ในประเทศเค้า (เหมือน บางซื่อแกรนด์สเตชั่นบ้านเราในอนาคต) สำหรับการสำรองที่นั่งก็ทำได้ 30 วันก่อนวันเดินทาง ผ่านทางเว็บไซต์ของการรถไฟมาเลเซีย หรือ KTM นั่นเอง แต่ก็งง ๆ ในเรื่องระยะเวลาจองอยู่เพราะตอนผมจองก็จองล่วงหน้ามากกว่า 30 วัน ตัดบัตรเครดิตได้เลย สะดวกดี
การเดินทางจากฝั่งไทย เราจะสามารถหาซื้อของกินบนรถที่มาเดินขายได้ตั้งแต่ช่วงกรุงเทพ จนถึง ครัวตู้เสบียงปิด ก็ราวๆ 1-2 ทุ่ม หรือจะไปกินอาหารอุ่นร้อนที่ตู้เสียงก็ได้นะครับ ราคาก็รู้ ๆ กัน ช่วงรถออกจากกรุงเทพก็จะเป็นที่นั่งก่อน พอพลบค่ำก็จะมีพนักงานมาปูเตียงให้
ส่วนรถไฟฝั่งมาเลเซียหรือ ETS นั้น จะมีตู้เสียงอยู่เช่นกัน ประมาณกลาง ๆ ขบวน ( 1 ขบวนมี 6 ตู้โดยสาร) อาหารที่ขายเคยเห็นว่ามีอาหารร้อนด้วยแต่วันที่ผมไปมีแต่แซนวิชซะงั้น แต่ก็เอาวะ กินไป ชมวิวไป ฟินกับรถไฟไป แป๊บๆ 5-6 ชม. ก็ถึง KL Sentral นับว่าเป็นการเหยียบแผ่นดินมาเลเซียอย่างเป็นทางการซะที "กูมาถึงมาเลเซียแล้วโว้ยยยยยยย"
อ่อ ลืมเล่าไปอย่าง ตม. ที่สถานีปาดังเบซาร์ จะอยู่ฝั่งของประเทศมาเลเซียนะครับ ดังนั้น ใครจะใช้บริการสถานีนี้ จะต้องผ่านการตรวจคนเข้าเมืองเสียก่อน ถ้ามีพาสปอร์ต ก็ต้องเดินไปตามช่องทางที่เจ้าหน้าที่พาไป เพื่อไปจ๊อบออกฝั่งไทยก่อน แล้วค่อยไปจ๊อบเข้ามาเลเซีย ซึ่งที่นี่การจัดการระบบค่อนข้างไม่ค่อยโอเค จะดูวุ่นวายมาก ดังนั้นพยายามอย่าแตกแถว เดี๋ยวจะหลงและสื่อสารสับสนกันได้
เกร็ดเล็ก ๆ
ที่สถานีปาดังเบซาร์ นอกจากคนไทยจะต่อรถไฟยังกัวลาลัมเปอร์แล้ว ยังมีบางส่วนที่ต่อรถไปยัง บัตเตอร์เวิร์ธ เพื่อข้ามเรือเฟอรี่ไปยังเกาะปีนังอีกด้วย รวมถึงยังต่อรถที่กัวลาลัมเปอร์อีกทอด เพื่อไปยะโฮร์บารู และสิงคโปร์อีกเช่นกัน
iSSAMEe
17 ต.ค. 2561
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)