วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของเรื่อง #สถานีรถไฟกรุงเทพ




การโดยสารรถไฟแต่ละครั้ง แน่นอนว่า เราต้องขึ้นรถไฟที่สถานีครับ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสถานีรถไฟถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นประตูบานแรกที่เราจะได้รู้จักว่ารถไฟ หน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งสถานีรถไฟในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมากหลายร้อนสถานี แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสถานีรถไฟกรุงเทพกันครับ
สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่หลายๆท่านเรียกกันว่าสถานีหัวลำโพง(ซึ่งจริงๆแล้วคือคนละที่กันะเออ)นั้น เริ่มก่อนสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่แล้วเสร็จพร้อมใช้งานจริง ก็ 25 มิถุนายน 2459 ตรงกับรัชกาลที่ 6
รูปแบบสถาปัตยกรรมของสถานีกรุงเทพคือ เป็นศิลปกรรมแบบโดมอิตาเลี่ยนผสมผสานกับศิลปะยุคเรเนซองต์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมณี
            ปัจจุบันสถานีรถไฟกรุงเทพ แบ่งพื้นที่เป็นสองส่วนหลัก คือส่วนโถงอาคาร ซึ่งจะมีพื้นที่สำหรับจำหน่ายตั๋วโดยสาร พื้นที่สำหรับพักผ่อนขณะรอการโดยสาร ศูนย์อาหาร ร้านค้าต่างๆ พื้นที่หลักอีกส่วนหนึ่งคือ บริเวณชานชาลาสำหรับรถไฟเข้าเทียบ จำนวน 12 ชานชาลา  
ในแต่ละวันจะมีขบวนรถไฟโดยสาร เข้า ออกสถานีรถไฟกรุงเทพมากกว่าวันละ 200 ขบวน       ใน 4 เส้นทาง ได้แก่

-เส้นทางรถไฟสายเหนือ ออกจากกรุงเทพ สุดเส้นทางรถไฟที่สถานี เชียงใหม่
-เส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ สุดเส้นทางรถไฟที่ สถานี อุบลราชธานี และสถานีหนองคาย
-เส้นทางรถไฟสายตะวันออก สุดเส้นทางรถไฟที่ สถานีอรัญประเทศ และสถานีบ้านพลูตาหลวง
-เส้นทางรถไฟสายใต้ สุดเส้นทางรถไฟที่ สถานีนครศรีธรรมราช สถานีสุไหงโกลก และสถานีปาดังเบซาร์

การเดินทางไปยังสถานีรถไฟกรุงเทพ ก็สะดวกสบาย มีรถเมล์ผ่านหลายสาย รวมไปถึงรถไฟใต้ดิน ก็มาสุดสายที่สถานีรถไฟกรุงเทพเช่นกัน
การเดินทางโยรถไฟ คืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่พอมีเวลาสำหรับการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบข้าง หากใครมีโอกาสเปิดใจลองใช้บริการดูซักครั้ง จะรู้ว่าการเดินทางโดยรถไฟนั้น มันมีสเน่ห์มากกว่าที่คิด

iSSAMEe
         12/12/2558

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น