วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หมี่ดะ ไร้เดียงสา เล่นโล้ชิงช้าบนดอยสูง


"หมี่ดะ ไร้เดียงสา เล่นโล้ชิงช้า บนดอยสูง
ร่ายรำดังฝูงนกยูง มือจูงล้อมวงหลังดงดินแดน"

          นี่คือท่อนหนึ่งจากเพลงหมี่ดะ (ไม่ใช่เพลง มิดะ คนละเพลงกันนะครับ) ที่ทำให้ผมสงสัยว่าชิงช้าที่ชาวอาข่าโล้กันนั้นหน้าตาเป้นอย่างไร?
          ชาวอาข่า หรือชาวอีก้อ ผูกพันกับประเพณีโล้ชิงช้า เดือนสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี จะเป็นช่วงที่ชาวอาข่าจัดพิธีโล้ชิงช้าขึ้น ซึ่งความสำคัญของพิธีโล้ชิงช้าคือ การรำลึกถึงพระคุณแห่งเทพธิดา “อึ่มซาแยะ” ผู้ประทานความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเพื่อเป็นการฉลองให้กับพืชผลที่มีความเจริญงอกงามรอเก็บเกี่ยว รำลึก และให้เกียรติสตรี พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ, การเลี้ยงฉลอง, การเต้นรำ ผู้หญิงในหมู่บ้านชาวอาข่า จะใช้เวลาในการเตรียมเสื้่อผ้าอาภรณ์สวยงาม อย่างพิถีพิถันทั้งปี เพื่อนำมาสวมใส่ในพิธีนี้โดยเฉพาะ
          พิธีโล้ชิงช้าของชาวอาข่า ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษมากว่า 2,700 ปี พิธีดั้งเดิมแบ[โบราณว่ากันว่าจัดงานทั้งสิ้น 33 วัน แต่ในปัจจุบันในประเทศไทย จัดทั้งสิ้น 4 วัน โดยชาวอาข่าจะกระจายอยู่ใน 5 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ และคาดว่าจะมีอีกบางส่วนอยู่ในจังหวัดน่านและพิษณุโลก สำหรับแหล่งชุมชนชาวอาข่าที่ใหญ่ที่สุดและเชื่อว่าเป็นแห่งแรกในประเทศไทยคือ บริเวณดอยตุง จังหวัดเชียงราย

iSSAMEe
26 ธ.ค. 2558


**เนื้อเพลง หมี่ดะ 
ศิลปิน ลีมา  อยู่ลือ ( lima )
ผู้แต่ง  ณฐมล  ทองถิ่น

บนฟ้าที่มีเมฆลอย บนดอยดินแดนอาข่า
เรื่องราวหลังพงพนา ที่ถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม
เป็นตำนานให้คนจดจำ ทั้งๆที่มันไม่เคยมีจริง
……………………………………………….
สาวน้อยชาวอาข่า  พวกเราเรียกว่าหมี่ดะ
เธอคงอยากอธิบาย  เรื่องราวร้ายๆน่าอายเหลือเกิน
จากบทเพลงที่ฟังเพลินๆ เหมือนผลักเธอเดินสู่ความมืดมน
……………………………………………………..
สาวสวยเป็นหมันเป็นหม้าย  ทอดกายถ่ายทอดตำราวิชาโลกีย์
อยากบอกความจริงให้รู้เสียที  ว่าไม่เคยมีขอให้เข้าใจ
เรื่องราวหลังดงพงไพรใครจะรู้ดี  กว่าคนอาข่า
…………………………………………………….
หมี่ดะไร้เดียงสา เล่นโล้ชิงช้าบนดอยสูง
ร่ายรำดั่งฝูงนกยูง มือจูงล้อมวงหลังดงดินแดน
เป็นตัวแทนของความสดใส  ขอเพียงเข้าใจในความเป็นจริง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น